วันอังคารที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2557

การประยุกต์ใช้สารสนเทศในชีวิตประจำวัน


การประยุกต์ใช้สารสนเทศในชีวิตประจำวัน


     ในปัจจุบันเทคโนโลยีสารสนเทศมีความจำเป็นในชีวิตประจำวันและเป็นส่วนที่ช่วย ให้การดำเนินภาระกิจในประจำวันมีความสะดวกรวดเร็ว เทคโนโลยีสารสนเทศทำให้สามารถรับรู้ข่าวสารข้อมูลได้อย่างรวดเร็วไม่ว่าจะ อยู่ในสถานที่ห่างไกลกันมากๆ ฉะนั้นในการดำเนินชีวิตในประจำวันจึงมีความจำเป็นที่จะต้องมีเทคโนโลยี สารสนเทศเข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องเพื่ออำนวยความสะดวกในการติดต่อสื่อสาร ระหว่างกันได้อย่างรวดเร็ว ลดระยะเวลาโดยการ่ติดต่อทางโทรศัพท์ กระประชุมผ่านทางอินเตอร์เน็ต ช่วยให้การทำงานมีประสิทธิภาพสูงขึ้น มีความถูกต้อง เเม่นยำ และสามารถช่วยในการจัดเก็บข้อมูลที่มีความสะดวกต่อการเรียกใช้งาน นำมาใช้เป็นเเหล่งข้อมูลในการศึกษาค้นคว้าในการเรียนรู้ อีกทั้งยังนำมาใช้ในการดำเนินธุรกิจในหลายๆด้านไม่ว่าจะเป็น ธุรกิจธนาคาร ธุรกิจการท่องเที่ยว ธุรกิจขายสินค้าออนไลน์ (E commerce) เป็นต้น

     ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่าในสังคมปัจจุบันเทคโนโลยีสารสนเทศมีความสำคัญและมี ความจะเป็นอย่างมากในชีวิตประจำวัน ช่วยอำนวยความสะดวกในการติดต่อสือสารให้มีความรวดเร็ว เเม่นยำ ทันต่อเวลา และประหยัด และมีแนวโน้วที่จะมีบทบาทมากยิ่งขึ้นในอนาคต เพราะเทคโนโลยีเป็นเครื่องมือในการดำเนินงานสารสนเทศให้เป็นไปอย่างมี ประสิทธิภาพ นับตั้งแตการผลิต การจัดเก็บ การประมวลผล การเรียกใช้ การสื่อสารสารสนเทศ การแลกเปลี่ยนและใช้ทรัพยากรสารสนเทศร่วมกันให้เกิดประโยชน์อย่างเต็มที่


การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ

    1. การประยุกต์ใช้ในด้านการศึกษา การนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการสอน เช่น การสอนด้วยสื่ออุปกรณืที่ทันสมัยใช้ (Video Projector) คอมพิวเตอร์ช่วยสอน เป็นการนำเอาเทคโนโลยีรวมกับการออกเเบบโปรเเเกรมการสอนมาช่วยใช้ในการสอน ซึ่งเรียกันว่า บทเรียน CAI (Computer-Assisted Instruction) เป็นต้น

    2. การประยุกต์ใช้ในงานทะเบียนของสถานศึกษา การนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการลงทะเบียนเรียน การประมวลผลการเรียน การตรวจสอบการจบการศึกษา และการส่งงานของนักศึกษา เป็นต้น

    3. การประยุกต์ใช้ในด้านการเเพทย์ เป็นการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการลงทะเบียนผู้ป่าย การให้คำปรึกษาทางไกลโดยเเพทย์ผู้ชำนาญ ช่วยในการส่งข้อมูลที่เปนเอกสารหรือภาพเพื่อประกอบการพิจารณาของเเพทย์ได้

    4. การประยุกต์ใช้ในสำนักงานของภาครัฐและเอกชน การนำเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาช่วงการทำงานด้านต่างๆ เช่นการทำบัตรประจำตัวประชาชน การจ่ายค่าสาธารณูปโภคต่างๆ การนำเทคโนโลยีมาใช้ในสำนักงานเพื่ออำนวยความสะดวกและมีความรวดเร็วยิ่งขึ้น

    5. การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในงานการเงินและการพาณิชย์ ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในรูปแบบของเครื่องเบิกถอนเงินอัตโนมัติ เพื่ออำนวยความสะดวกในการฝาก ถอน โอนเงิน และนำคอมพิวเตอร์ระบบออนไลน์และออฟไลน์เข้ามาช่วยในการทำงานประจำวันของ ธนาคารด้วยการเชื่อมโยงข้อมูลของธนาคารต่างสาขา ต่างธนาคาร ทำให้ผู้ใช้บริการสามารถเบิก ถอน โอนเงินชำระเงินค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ได้โดยสะดวก

    6. การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในงานอุตสาหกรรม โรงงานอุตสาหกรรมนำเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการจัดการเข้ามาช่วยในการจัดการ ระบบงานการผลิต การสั่งซื้อ การพัสดุการเงิน บุคลากร และงานด้านอื่น ๆ ในโรงงาน

    7. การประยุกต์ใช้ในงานด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กลุ่มนักวิทยาสตร์ วิศวกรที่ต้องการศึกษาพฤติกรรมบางอย่างของสิ่งมีชีวต รวมถึงสิ่งแวดล้อมต่างๆ เช่นศึกษาชีวิตความเป็นอยู่ของสัตว์ป่าต่าง ๆ การพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน ตลอดจนระบบนิเวศวิทยา ความสนใจในการจำลองความเป็นอยู่ของ สิ่งมีชีวิตได้มีมานานแล้ว โดยการใช้โปรเเกรมต่างๆที่คิดค้นขึ้นมาสำหรับงานด้านวิทยาศาสตร์

   8. การประยุกต์ใช้ในงานด้านการสื่อสารและโทรคมนาคม เทคโนโลยีของการสื่อสารและโทรคมนาคมในปัจจุบันก้าวไกลไปมาก มีบริการมากมายที่ทันสมัยและตอบรับกับการนำมาประยุกต์ใช้ในการดำเนินธุรกิจ เช่น การใช้โทรศัพท์ในปัจจุบันนี้ก็มิไดมีไว้เพียงสำหรับคุยสนทนาเพียง อย่างเดียวอีกต่อไป แต่มันสามารถช่วยงานได้มากขึ้น
 
   9. การประยุกต์ใช้ในงานห้องสมุด เพื่อให้มีสะดวกรวดเร็วความรวดเร็วในการค้นคว้าหนังสือในแต่ล่ะหมวด สะดวกในการให้บริการยืมคืน การค้นหาหนังสือ วรสาร สิ่งพิมพ์ต่างๆได้อย่างรวดเร็ว


ประโยชน์ของเทคโนโลยีสารสนเทศ


   1.ช่วยในการจัดเก็บสารสนเทศไว้ในรูปที่เรียกใช้ได้ทุกครั้งอย่างสะดวก
   2.ช่วยในการสื่อสารระหว่างกันได้อย่างสะดวก รวดเร็ว ลดอุปสรรคเกี่ยวกับเวลาและระยะทาง โดยใช้ระบบโทรศัพท์ และอื่นๆ
   3.ลดแรงงานคนในการทำงานต่าง ๆ เช่น ควบคุมการผลิต และช่วยในการคำนวน
   4.ช่วยในการเข้าถึงสารสนเทศได้อย่างรวดเร็ว มีประสิทธิภาพมากขึ้น
   5.ทำให้เกิดสื่อการเรียนการสอนต่างๆมากขึ้น เช่น การใช้บทเรียน คอมพิวเตอร์ช่วยสอน เป็นต้น
   6.ทำให้เกิดความเท่าเทียมกันในสังคม และเกิดการกระจายโอกาส เช่น การใช้ระบบการเรียนการสอนทาง
   7.ลดต้นทุนการผลิตข้อเสียของเทคโนโลยีสารสนเทศ

   8.ลงทุนสูง เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือที่มีราคาแพง และส่วนมากไม่อาจจะนำไปใช้ได้ทันที แต่จะต้องมีความรู้ความเข้าใจเสียก่อนจึงจะใช้ได้อย่างถูกต้องและมี ประสิทธิภาพ
   9.ทำให้เกิดอาชญากรรม เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นหนทางในการก่ออาชญากรรมได้ โจรผู้ร้ายอาจใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการวางแผนปล้น วางแผนโจรกรรม มีการลักลอบใช้ข้อมูลข่าวสาร มีการโจรกรรมหรือแก้ไขตัวเลขบัญชีด้วยคอมพิวเตอร์
  10.ทำให้ความสัมพันธ์ของมนุษย์เสื่อมถอย การใช้คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์สื่อสาร ทำให้สามารถติดต่อสื่อสารกันได้โดยไม่ต้องเห็นตัว การใช้งานคอมพิวเตอร์หรือแม้แต่การเล่นเกมมีลักษณะการใช้งานเพียงคนเดียว ทำให้ความสัมพันธ์กับผู้อื่นลดลง
  11.ทำให้เกิดการเสี่ยงภัยทางด้านธุรกิจ ธุรกิจในปัจจุบันจำเป็นต้องพึ่งพาอาศัยเทคโนโลยีสารสนเทศมากขึ้น ข้อมูลข่าวสารทั้งหมดของธุรกิจฝากไว้ในศูนย์ข้อมูล
  12.ทำให้เกิดการแพร่วัฒนธรรมและกระจายข่าวสารที่ไม่เหมาะสมอย่างรวดเร็ว คอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์ที่ทำงานตามคำสั่งอย่างเคร่งครัด การนำมาใช้ในทางใดจึงขึ้นอยู่กับผู้ใช้ 



วันจันทร์ที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2557

สังคมสารสนเทศ

สังคมสารสนเทศ

    ในสังคมปัจจุบันเป็นยุคเเห่งการสื่อสารไร้พรมเเดนที่มีความรวดเร็วของข้อมูล ข่าวสารในด้านต่างๆ และมีการเผยเเพร่ได้อย่างรวดเร็วของข้อมูลข่าวสารเพื่อช่วยในการพัฒนาสติ ปัญญาของมนุษย์ให้เกิดความคิดที่สร้างสรรเกิดการประดิษฐคิดค้นเทคโนโลยี ใหม่ๆขึ้นมาเพื่อช่วยอำนวยความสะดวกในชีวิตประจำวันช่วยให้เกิดการเรียนรู้ โดยการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองอีกทั้งยังช่วยพัฒนาการขับเคลื่อนในด้านธุรกิจ ช่วยให้ธุรกิจเกิดการพัฒนผลิตภัณฑ์ใหม่ๆและสารสนเทศยังเป็นสือกลางในการใน การถ่ายทอดวัฒนธรรมดันดีงามของชาติอีกด้วย การใช้สารสนเทศมีความสำคัญในอีกหลายๆด้านไม่ว่าจะเป็น การใช้สารสนเทศในการประกอบอาชีพ ใช้ในชีวิตประจำวัน ใช้ในด้านการศึกษา การใช้สารสนเทศที่ถูกต้องจะช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตเเก่ประชากรโลกเพื่อที่จะ ได้นำความรู้ความเข้าใจมาตัดสินใจแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นได้อย่างถูกต้อง แม่นยำ และรวดเร็ว ทันเวลากับสถานการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นได้อย่างเหมาะสม

ความหมายของสังคมสารสนเทศ


    สังคม หมายถึง คนจำนวนหนึ่งที่มีความสัมพันธ์ต่อเนื่องกันตามระเบียบ กฎเกณฑ์ โดยมีวัตถุประสงค์สำคัญร่วมกัน ตามพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตสถาน (2542:1159)
สังคม หมายถึง กลุ่มคนมากกว่าสองคนขึ้นไปมาอยู่รวมกันเป็นระยะเวลายาวนานในขอบเขตหรือพื้นที่ที่กำหนด สุดา ภิรมย์แก้ว (2545: 67)
    สังคม หมายถึง สังคมเป็นกลุ่มชนิดหนึ่งที่ย่อมจะมีลักษณะเหมือนกับกลุ่มต่าง ๆ โดยทั่วไป คือ คนในกลุ่มต้องมีความสัมพันธ์กันโดยทางตรงหรือทางอ้อมมีระเบียบกฎเกณฑ์ร่วม กันเพื่อให้ความสัมพันธ์ในกลุ่มเป็นไปด้วยดี และสมาชิกมีความรู้สึกว่าตนเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่ม ยุทธ ศักดิ์เดชยนต์ (2529: 8)
จากผู้ที่ให้คำนิยามสรุปได้ว่า สังคม หมายถึง กลุ่มคนจำนวนหนึ่งที่อาศัยอยู่ในอาณาบริเวณหนึ่ง โดยมีความสัมพันธ์ภายใต้ระเบียบแบบแผนที่สังคมกำหนด มีการกระทำระหว่างกันทางสังคม มีประเพณี และวัฒนธรรมที่เหมือนกันเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิตของคนในสังคม
สารสนเทศ หมายถึง หมายถึง ข่าวสาร การแสดงหรือการชี้แจงข่าวสาร ข้อมูลต่าง ๆ ตามความหมายในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน (ราชบัณฑิตยสถาน, 2542)
สารสนเทศ หมายถึง ผลสรุปที่ได้จาก การนำข้อมูลมาประมวล ด้วยวิธีการต่าง ๆ เช่น การสรุปทางสถิติ การเปรียบเทียบ การจำแนก หรือ จัดกลุ่ม ฯลฯ (ครรชิต มาลัยวงศ์, 2541)
จากผู้ให้คำนิยามสรุปได้ว่า สารสนเทศ หมายถึง ข้อมูล ข่าวสาร ที่ได้มีการจัดการไม่ว่าจะเป็นการคิดคำนวน การประมวลผลเพื่อนำมาใช้ประโยชน์ตามวัตถุประสงค์ และได้นำไปไช้ได้ทันต่อความต้องการและทันเวลาการใช้งาน
ดังนั้น สังคมสารสนเทศ หมายถึง สังคมสารสนเทศหรือสังคมข่าวสาร (The information society) เป็นสังคมที่มีการใช้สารสนเทศรูปแบบต่างๆ เพื่อประกอบการตัดสินใจทั้งเพื่อประโยชน์ส่วนตนและประโยชน์ส่วนรวม ในสังคมสารสนเทศจะทำให้เราได้รับสารสนเทศที่มีคุณภาพ ตรงกับความต้องการและทันเวลา


ความสำคัญของสังคมสารสนเทศ

    สังคมสารสนเทศมีความสำคัญในด้านต่างๆหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็นด้านการใช้ในการประกอบอาชีพ ด้านการศึกษา การค้นคว้าและวิจัย ด้านเศรษฐกิจสังคมวัฒนธรรม และนับว่าเป็นสิ่งที่มีคุณค่ากับมนุษย์ชาติเป็นอย่างมาก
    1.ด้านการประกอบอาชีพ โดยการเเสวงหาสารสนเทศที่จำเป็นต่อการประกอบอาชีพของตนเอง เช่น เกษตรกร เมื่อประสบปัญหาโรคระบาดกับพืชผลทางการเกษตรของตน ก็สามารถหาตัวยาหรือสารเคมีเพื่อมากำจัดโรคระบาด ดังกล่าวได้ เป็นต้น
    2. ด้านการศึกษา การเลือกใช้สารสนเทศที่ดี ทันสมัย มีคุณค่าจะช่วยให้การศึกษาในระบบโรงเรียน การศึกษานอกระบบโรงเรียน การศึกษาตามอัธยาศัย และการเรียนรู้ตลอดชีวิต และทำให้การเรียนการสอนเกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผล
    3. ด้านการวิจัยค้นคว้า สารสนเทศช่วยให้การวิจัยเกิดประสิทธิภาพและสามารถนำไปใช้ประโยชน์ต่อสังคมได้เป็นอย่างมาก
    4. ด้านเศรษฐกิจ ช่วยในการขังเคลื่อนธุรกิจยุคใหม่ สารสนเทศด้านธุรกิจการค้าจึงถือเป็นต้นทุนการผลิตที่สำคัญในการแข่งขัน ทั้งนี้เพราะสารสนเทศช่วยประหยัดเวลาในการผลิต ลดขั้นตอนการลองผิดลองถูก อีกทั้งช่วยให้องค์กรได้พัฒนาผลิตภัณฑ์ใหมๆได้ตามความต้องการของตลาด
    5. ด้านสังคมวัฒธรรม ความสำคัญด้านวัฒนธรรม สารสนเทศเป็นรากฐานที่จำเป็นสำหรับความก้าวหน้าของอารยธรรม สารสนเทศช่วยสืบทอด ค่านิยม ทัศนคติ ศิลปะ และวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์อันดีงามของชาติ ก่อให้เกิดความภาคภูมิใจ ความสามัคคี ความมั่นคงในชาติ


ข้อดีของสังคมสารสนเทศ

    1.ช่วยให้เกิดการเรียนรู้และช่วยให้มนุษย์เกิดความคิดที่สร้างสรรค์
    2.ช่วยในการพัฒนาเศรษฐกิจและพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ๆในการผลิต
    3.ช่วยให้เกิดการค้นคว้าและวิจัยสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อมนุษยชาติ
    4.ช่วยเป็นสือกลางในการเผยเเพร่สังคม วัฒนธรรมและเอกลักษณ์อันดีงามของชาติ
    5.ช่วยในด้านการศึกษาให้มีประสิทธิภาพและมีประสิทธิผลมากขึ้น


ข้อเสียของสังคมสารสนเทศ


    1. ทำให้เกิดอัชญากรรมมากขึ้น
    2. ทำให้เกิดความเสื่อมถอยด้านความสัมพันธ์ของมนุษย์
    3. ทำให้ธุรกิจเกิดความเสี่ยงมากขึ้น

วันอาทิตย์ที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2557

เเบบฝึกหัดบทที่ 8



เรื่อง การใช้สารสนเทศตากฏหมายและจริยธรรม

สรุปแนวทางในการแก้ปัญหาอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์



 1. ควรมีการป้องกันในระบบเครือข่ายของตนเอง และเช็คความปลอดภัยอยู่เสมอ ไม่ว่าจะเป็นการ เข้ารหัสคอมพิวเตอร์ และรหัสเครือข่าย หมั่นเปลี่ยน รหัสผ่านบ่อยๆ

2.ลงโปรแกรม แอนตี้ไวรัส ป้องกันการทำลายข้อมูลในเครื่อง

3.ควรดาวโหลดไฟล์จากแหล่งเชื่อถือได้เท่านั้น

4.การมีไฟล์วอล ส่วนตัวจะสามารถป้องกันอาขญากรรมได้ดีที่สุด

วันเสาร์ที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2557

เเบบฝึกหัดบทที่ 7



เรื่อง ความปลอดภัยของสารสนเทศ

จงบอกมาตรการป้องกันการบุกรุกคอมพิวเตอร์จากภายนอกเครือข่าย

 1. ไฟร์วอลล์(Firewall)?

     ทำหน้าที่เป็นเครื่องมือรักษาความปลอดภัยให้ กับเครื่องข่ายภายใน (Internet) โดยป้องกันผู้บุกรุก (Intrusion) ที่มาจากเครือข่ายภายนอก หรือเป็นการกำหนดนโยบายการควบคุมการเข้าถึงระหว่างเครือข่าย โดยสามารถกระทำได้โดยวิธีแตกต่างกันไป และแต่ระบบ ไฟร์วอลล์ มีขีดความสามารถในการไม่อนุญาตการ Login สำหรับผู้ที่ไม่มีสิทธิ์ในการเข้าใช้งานในเครือข่าย แต่ผู้ใช้ที่มีสิทธิ์ใช้งานทั้งภายใน และติดต่อภายนอกเครื่อข่ายได้โดยจำกัดข้อมูลจากภายนอกเคือข่ายไม่ให้เข้ามา ในเครือข่าย นับเป็นจุดสังเกตการณ์ตรวจจับและรักษาความปลอดภัยของเครือข่าย เปรียบได้ดังยรมที่ทำหน้าที่เผ้าประตูเมือง

2.ระบบป้องกันไวรัส
    ควรติดตั้งระบบป้องกันไวรัสทั้งในเครื่องพีซี โน้ตบุ๊ก และเซิร์ฟเวอร์ มิเช่นนั้นโน้ตบุ๊กที่ติดไวรัสมาจากข้างนอกอาจนำไวรัสมาแพร่ระบาดใน เซิร์ฟเวอร์และเครือข่ายได้ นอกจากนี้ต้องทำการอัพเดทระบบป้องกันไวรัสอยู่เป็นประจำ และต้องสแกนไวรัสในเครื่องคอมพิวเตอร์ของสำนักงานเป็นประจำด้วย ที่สำคัญควรต้องปรับแต่ระบบป้องกันไวรัสให้คอยตรวจสอบเมล์ที่ดาวน์โหลดมาว่า มีซอฟต์แวร์ไม่พึงประสงค์ติดมากับไฟล์แนบหรือไม่่

3.ระบบบริหารการติดตั้งโปรแกรมซ่อมแซม
    ระบบปฏิบัติการ หรือซอฟต์แวร์ที่ออกมานานแล้วมักจะพบว่ามีบั๊ก (Bug) ซึ่งอาจกลายเป็นช่องโหว่ให้แฮกเกอร์เจาะเข้ามาโจมตีระบบได้ จึงจำเป็นต้องติดตั้งโปรแกรมซ่อมแซมและอัพเดทอัตโนมัติ และจะต้องไม่ปล่อยให้ผู้ใช้ปิดการทำงานของโปรแกรมเหล่านี้

4.การปรับแต่งตัวแปรระบบเครือข่าย
    เปลี่ยนช่วงค่าไอพีปกติของเครือข่าย และตรวจดูพอร์ตการใช้งาน ปิดพอร์ตที่ไม่ได้ใช้ รวมถึงลบทรัพยากรที่ใช้ร่วมกันผ่านเครือข่ายที่ไม่จำเป็น

5.การปรับแต่งตัวแปรระบบเครือข่าย
    เปลี่ยนช่วงค่าไอพีปกติของเครือข่าย และตรวจดูพอร์ตการใช้งาน ปิดพอร์ตที่ไม่ได้ใช้ รวมถึงลบทรัพยากรที่ใช้ร่วมกันผ่านเครือข่ายที่ไม่จำเป็น

6.ไฟล์ดาวน์โหลด
   ตรวจสอบให้แน่ใจว่าพนักงานดาวน์โหลดไฟล์มาจากเว็บไซต์ที่เชื่อถือได้เท่า นั้น หรือให้สิทธิ์ผู้ใช้ที่เชื่อใจได้ แต่ต้งตรวจสอบให้มั่นใจว่าผู้ที่ได้รับสิทธิ์นี้ได้ศึกษาวิธีดาวน์โหลไฟล์ อย่างปลอดภัยมาแล้ว

วันพฤหัสบดีที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2557

เเบบฝึกหัดบทที่6



เรื่อง การประยุกต์ใช้สารสนเทศในชีวิตประจำวัน


นิสิตใช้ social software ใดบ้างในชีวิตประจำวันใช้เพื่อวัตถุประสงค์ใด



1.Facebook ใช้เพื่อ ติดต่องาน ติดต่อเพื่อนและดูข่าวในชีวิตประจำวัน

2.Line ใช้เพื่อ ติดต่อเพื่อน ครอบครัว และงานต่างๆ

3.Social cam ใช้เพื่อ ดูสาระบันเทิงต่างๆ

4. Instragrams ใช้เพื่อ ดูรูปต่างๆที่แชร์ลง ไม่ว่าจะเป็นในประเทศและต่างประเทศ

วันพุธที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2557

เเบบฝึกหัดบทที่ 5

เเบบฝึกหัดบทที่ 5 
เรื่อง การจัดการสารสนเทศ


กระบวนการจัดการสารสนเทศ 



1. จงอธิบายความหมายของการจัดการสารสนเทศ
ตอบ การจัดการสารสนเทศ หมายถึง การทำกิจกรรมหลักต่างๆ ในการจัดหา การจัดโครงสร้า การควบคุม ผลิต การเผยเเพร่และการใช้สารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานขององค์การทุกประเภทอย่างมีประสิทธิผล ซึ่งสารสนเทศในที่นี้หมายถึงสารสนเทศทุกประเภทที่มีคุณค่าไม่ว่าจะมีเเหล่งกำเนิดภายในหรือภายนอกองค์การ
การจัดการสารสนเทศ หมายถึง กระบวนการดำเนินงาน เช่น ทำดรรชนี การจัดหมวดหมู่ การจัดเเฟ้มการทำรายการเพื่อการเข้าถึงเอกสารหรือสรสนเทศที่มีการบันทึกไว้ในรูปเเบบต่างๆตั้งแต่จดหมายเหตุ(Archive)เชิงประวัติ ถึงข้อมูลดิจิทัล
การจัดการสารสนเทศ หมายถึง การดำเนินการกับสารสนเทศในระดับองค์การ ได้เเก่ การวางเเผนการ จัดสรรงบประมาณ การจัดโครงสร้างองค์การ การจัดเจ้าหน้าที่ การกำหนดทิศทาง การฝึกอบรม และการควบคุมสารสนเทศ
กล่าวโดยสรุป คือ การจัดการสารสนเทศ หมายถึง การผลิต การจัดเก็บ ประมวลผล ค้นหา และเผยเเพร่ สารสนเทศโดยจัดให้มีระบบสรสนเทศ การกระจายของสารสนเทศ ทั้งภายในและภายนอกองค์การโดยมีการนำเทคโนโลยีต่างๆ โดยเฉพราะเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสารมาใช้ในการจัดการ รวมทั้นมินนโยบาย หรือ กลยุทธ์ระดับองค์การในการจักการสารสนเทศ


2. การจัดการสารสนเทศมีความสำคัญต่อบุคคลและต่อองค์กรอย่างไร
ตอบ
 ความสำคัญของการจัดการสารสนเทศต่อบุคคล 

      ในด้านการดำรงชีวิตประจำวัน การศึกษาและการทำงานประกอบอาชีพ ต่างๆ การจัดการสารสนเทศอย่างเป็นระบบ โดยการจัดทำฐานข้อมูลส่วนบุคคลรวบรวมทั้งข้อมูลการดำรงชีวิต การศึกษา และการทำงานประกอบอาชีพต่างๆ ในการดำรงชีวิตประจำวันบุคคลย่อมต้องการสารสนเทศหบายด้านเพิื่อใช้ชีวิตได้อย่างราบรื่น มีความก้าวหน้า และมีความสนุข อาทิต่องการสารสนเทศเพื่อการดูแลรักษาสุขภาพ ต้องจัดการค่าใช้จ่ายในครอบครัว ค่าใช้จ่ายส่วนบุคคล การดูแลอาคารที่อยู่อาศัยต่างๆ ตลอดจนการเลี้ยงดูคนในครอบครัวให้เป็นบุคคลที่มีคุณภาพ มีความรู้ความสามารถที่ทำคุณประโยชน์แก่สังคม จึงจำเป็นต้องคัดกรองกสารสนเทศที่มีอยู่มากมายจากหลายเเหล่งเพิ่มจัดเก็บ จัดทำระบบ และเรียกใช้ได้อย่างสะดวกและรวดเร็วความสำคัญในด้านการศึกษา การจัดการสารสนเทศด้านระบบการศึกษา เอื้ออำนวยให้บุคคลสามารถเลือกระบบการศึกษา การเรียนรู้ได้อย่างเหมาะสมกับบถคคลแต่ละคน สามารถเรียนรู้และศึกษาได้ตลอดเวลาตามความสนใจเฉพาะตน โดยไม่จำเป็นต้องสอบเข้าศึกษาตามสถาบันการศึกษาที่จัดระบบที่มีชั้นเรียนตลอดไป บุคคลสามารถเลือกศึกษาโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการศึกษา ตืดต่อกับสถานศึกษาในระะบเปิดหรือเรียนทางระบบออนไลน์ และเลือกเรียนได้ทุกระดับการศึกษา ทุกวัย นับเป็นปรัชญาการศึกษาตลอดชีวิต ความสำคัญในด้านการทำงาน บุคคลจำเป็นต้องใช้สารสนเทศทั้งที่เกี่ยวข้องกับองค์การ ภาระหน้าที่ ประกอบการทำงานทั้งระดับรริหารและระดับปฏิบัติการการจัดเก็บสารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับความรับผิดชอบตามภารกิจส่วนตน ช่วยสนับสนุนให้สามารถทำงานให้ประสบความสำเร็จได้ทันการณ์ ทันเวลา
ความสำคัญของการจัดการสารสนเทศต่อองค์กร
การจัดการสารสนเทศมีความสำคัญต่องค์กรการในด้านการบริหารจัดการ การดำเนินงาน และกฏหมาย ดังนี้
      1)ความสำคัญด้านการบริหารจัดการ การบริหารจัดการในยุคโลกาภิวัตน์เป็นการบริหารภายใต้สภาวะที่มีการเปลี่ยนเเปลงอย่างรวดเร็ว และมีการเเข่งขั้นกันทางธุรกิจสูง ผู้บริหารต้องอาศัยสารสนเทศที่เกี่ยวข้องทั้งกับสภาพแวดล้อมภายในและภายนอกองค์การ เพื่อวิเคาะห์ปัญหา ทางเลือกในการแก้ปัญหาการตัดสินใจ ากรกำหนดทิศทางขององค์การ ให้สามารถเเข่งขันกับองค์การคู่เเข่งต่างๆ จึงจำเป็นต้องได้รับสารสนเทศที่เหมาะสม ถูกต้อง ครบถ้วน ทันการณ์ และทันสมัย เพื่อใช้ประกิบภารกิจตามหน้าที่ ตามระดับการบริหาร การจัดการสารสนเทศจึงนับว่ามีความสำคัญ ความจำเป็นที่ต้องมีการออกเเบบระบบการจัดการสารสนเทศที่มีประสิทธิภาพ การเลือกใช้เครื่องมือ เทคโนโลยี รวมทั้งกำหนดนโยบาย ากระบวนการและกฏระเบียบ เพื่อจัดการสารสนเทศให้เมาะกับสภาพการนำสารสนเทศไปใช้ในการบริหารงาน ในระดับต่างๆไม่ว่าจะเป็ระดับต้นหรือปฏิบัติการ ระดับกลาง และระดับสูง ให้สามารถบริหารงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
      2)ความสำคัญด้านการดำเนินงาน สารสนเทศนับมีความสำคัญต่อการดำเนินงานในหลายลักษณะเป็นทั้งการเพิมประสิทธิภาพและความคล่องตัวในการดำเนินงานและหลักฐานที่บันทึการดำเนินงานในด้านต่างๆ ตามที่หน่วยงานดำเนินการ การจัดการสารสนเทศช่วยให้การใช้สารสนเทศเพื่อรองรับการปฏิบัติงานตามกระเเสงานหรือขึ้นตอน จึงสามารถเพิ่มประสิทธิภาพและความคล่องตัวในการดำเนินงาน เอื้อให้เข้าถึงและใช้สารสนเทศได้อย่างสะดวก การเป็นหลักฐานที่บันทึกการดำเนินงานเช่น กัญญาการตกลงลงนามร่วมกิจการระหว่าองค์การ รายงานทางการเงินประจำปี เป็นต้น เป็นารสนเทศที่ช่วยหน่วยงานผลิตและใช้ประกอบการดำเนินงานตาม ภาระหน้าที่ ตามข้อกำหนด ระเบียบ และแนวปฏิบัติในองค์การ สารสนเทศเหล่านี้ต้องมีการรวบรวม ประมวล และจัดอย่างเป็นระบบเพิ่มให้มีความเป็นปัจจุบัน ถูกต้อง ครบถ้วนและเหมาะสมกับงานนั้น และในการจัดการสารสนเทศทีแม้สิ้นสุดกระบวนการปฏิบัติงานแล้ว โดยเฉพาะสารสนเทศที่มีคุณค่า ยังต้องมีการจัดเก็บเป็นจดหมายเหตุเพื่อการใช้ประโยชน์
3)ความสำคัญด้านกฏหมาย การจัดสรรสารสนเทศเพื่อการดำเนินงาน จำเป็นต้องสอดคล้องกับกฏหมาย กฏ ระเบียบและข้อบังคับทั้งในระดับภายในและภายนอกองค์การ โดยเฉพาะสารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับการเงินและบัญชีที่ต้องรวบรวมจัดเก็บอย่างต่อเนื่อง เป็นระบบ รวมทั้งมีการตรวจสอบความถูกต้องทั้งจากน่วยงานภายในองค์การ หรือจากหน่วยงานภายนอกตามกฏหมาย เช่น ผู้ตรวจสอบความถูกต้องทั้งจากหน่วยงานราชการ เช่น กรมสรรพากร การมสรรพสามิต และหน่วยงานเอกชน เป็นต้อน เพื่อเป็นการเเสดงสถานะทางการเงินขององค์การอย่างถูกต้อง และเป็นไปตรมกฏหมายและข้อบังคับต่างๆ อย่างครบถ้วน ท้งนี้ เนื่องจากการไม่ปฏิบัติตามกฏหมายหรือระเบียบข้อบังคับต้องมีบทลงโทษ


3. พัฒนาการของการจัดการสารสนเทศเเบ่งออกเป็นกี่ยุค อะไรบ้าง
ตอบ 
พัฒนาการของการจัดการสารสนเทศเเบ่งออกเป็น 2 ยุค ได้เเก่
     1) การจัดการสารสนเทศด้วยระบบมือ
     2) การจัดการสารสนเทศโดยใช้คอมพิวเตอร์


4.จงยกตัวอย่างการจัดการสารสนเทศที่นิสิตใช้ในชีวิตประจำวันมา อย่างน้อย 3 ตัวอย่าง
ตอบ 1. การใช้บริการ ฝาก-ถอนเงิน ผ่านตู้ ATM
       2. การใช้โทรศัพท์เคลือนที่ หรือ โทรศัพท์มือถือในการติดต่อสื่อสาร
       3. การเล่นอินเตอร์เน็ต

วันจันทร์ที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2557

แบบฝึกหัดบทที่ 4

เเบบฝึกหัดบทที่ 4 


เรื่อง เทคโนโลยีสารสนเทศ


1. ให้นิสิตยกตัวอย่างอุปกรณ์ที่ใช้เมคโนโลยีสารสนเทศตามหัวข้อต่อไปนี้ อย่างน้อยหัวข้อละ 3 ชนิด แล้วแลกเปลี่ยนกันตรวจสอบกับเพื่อน


1) การบันทึกและจัดเจ็บข้อมูล

ตอบ 1.USB flash drive
        2.DVD
        3.Memory stick



2)การเเสดงผล

ตอบ 1.Laser printer
        2.Speaker
        3.LCD Monitor



3)การประมวลผล

ตอบ 1.ซีพียู (CPU)
       2.หน่วยความจำหลักแบบอ่านได้อย่างเดียว (Read Only Memory - ROM)
       3.หน่วยความจำหลักแบบแก้ไขได้ (Random Access Memory - RAM)

4)การสื่อสารและเครือข่าย

ตอบ 1.เครือข่ายแบบดาว (Star topology) เป็นการเชื่อมต่อแบบจุดต่อจุด โดยสถานีทุกสถานีในเครือข่ายจะต่อเข้ากับหน่วยสลับสายกลางแบบจุดต่อจุด การติดต่อสื่อสารระหว่างสถานีจะกระทำได้ด้วยการติดต่อผ่านทางวงจรของหน่วยสลับสายกลาง การทำงานของหน่วยสลับสายกลางจึงคล้ายกับศูนย์กลางของการติดต่อวงจรเชื่อมโยงระหว่างสถานีต่างๆ ที่ต้องการติดต่อกัน

2.เครือข่ายแบบบัส เป็นรูปแบบที่มีผู้นิยมใช้มากแบบหนึ่ง เพราะมีโครงสร้างไม่ยุ่งยาก และไม่ต้องใช้อุปกรณ์สลับสาย การเชื่อมต่อมาลักษณะเป็น การเชื่อมต่อแบบหลายจุด สถานีทุกสถานีรวมทั้งอุปกรณ์ทุกชิ้นในเครือข่าย จะเชื่อมต่อเข้ากับสายสื่อสารหลักเพียงสายเดียวเรียกว่า แบ็กโบน (Backbone) การจัดส่งข้อมูลลงบนบัส จึงสามารถทำให้การส่งข้อมูลไปถึงทุกสถานีได้ผ่านสายแบ็กโบนนี้ โดยการจัดส่งวิธีนี้ต้องกำหนดวิธีการที่จะไม่ให้ทุกสถานีส่งข้อมูลพร้อมกัน เพราะจะทำให้ข้อมูลชนกัน โดยวิธีการที่ใช้อาจเป็นการแบ่งช่วงเวลา หรือให้แต่ละสถานีใช้ความถี่สัญญาณที่แตกต่างกัน

3.เครือข่ายแบบวงแหวน (ring topology) เป็นลักษณะการเชื่อมต่อแบบจุดต่อจุดเช่นเดียวกับแบบดาว โดยสถานีแต่ละสถานีจะต่อกับสถานีที่อยู่ติดทั้งสองข้างของตนเอง และทุกสถานีมีเครื่องขยายสัญญาณของตัวเอง โดยจะมีการเชื่อมโยงเครื่องขยายสัญญาณของแต่ละสถานีเข้าด้วยกันเป็นวงแหวน สัญญาณข้อมูลจะส่งอยู่ในวงแหวนแบบจุดต่อจุดไปในทิศทางเดียวกัน จนถึงผู้รับภายในเวลาที่กำหนด โดยเครื่องขยายสัญญาณเหล่านี้จะมีหน้าที่ในการรับข้อมูลจากเครื่องคอมพิวเตอร์ของตัวเอง หรือจากเครื่องขยายสัญญาณตัวก่อนหน้า และส่งข้อมูลต่อไปยังเครื่องขยายสัญญาณตัวถัดไปเรื่อย ๆ เป็นวง หากข้อมูลที่ส่งเป็นของสถานีใด เครื่องขยายสัญญาณของสถานีนั้นก็รับและส่งให้กับสถานีนั้น จึงต้องมีการตรวจสอบข้อมูลที่ได้รับว่าเป็นของตนหรือไม่ ถ้าใช่ก็รับไว้ ถ้าไม่ใช่ก็ส่งต่อไป อีกทั้งสามารถตรวจสอบความผิดพลาดในการส่งด้วย โดยกรณีที่ เครื่องรับปลายทางไม่ได้รับสัญญาณข้อมูลในเวลาที่กำหนด จะมีการแจ้งว่า เกิดความผิดพลาดในเครือข่ายได้อุปกรณ์เครือข่ายฮับ




1. ให้นิสิตนำตัวเลขในช่องขวา มาเติมหน้าข้อความในช่องซ้ายที่มีความที่สัมพันธ์กัน



    1)ซอฟต์เเวร์ประยุกต์=โปรเเกรมระบบห้องสมุดอัตโนมัติ จัดเป็นซอฟต์เเวร์ประเภท ซอฟต์เเวร์ประยุกต์

    2)Information Technology=เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีการสื่อสารโทรคมนาคมและเทคโนโลยีอื่นๆที่เกี่ยวข้อง

    3)คอมพิวเตอร์ในยุคประมวลผลข้อมูล=ส่วนใหญ่ทำหน้าที่คำนวณ ประมวลผลข้อมูล

    4)เทคโนโลยีสารสนเทศประกอบด้วย=เทคโนโลยีต่างๆ ที่นำมาประยุกต์ใช้ในการดำเนินการเกี่ยวกับสรสนเทศ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ความถูกต้องแม่นยำ และความรวดเร็วต่อการนำไปใช้

    5)ช่วยเพิ่มผลผลิต เพิ่มต้นทุน และเพิ่มประสิทธ์ภาพในการทำงาน=ลักษณะสำคัญของสารสนเทศ

    6)ซอฟต์เเวร์ระบบ=โปรเเกรมที่ทำหน้าที่ควบคุมอุปกรณ์ต่างๆภายในระบบคอมพิวเตอร์

    7)การนำเสนอบทเรียนในรูปมัลติมีเดียที่ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ด้วยตัวเองได้ตามระดับความสามารถ=CAI

    8)EDI=การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการรับ-ส่งเอกสารจากหน่วยงานหนึ่งไปยังอีกหน่วยงานหนึ่งโดยส่งฝ่านเครือข่าย

    9)การสื่อสารโทรคมนาคม= มีองค์ประกอบพื้นฐาน 3 ส่วน ได้เเก่ Sender Medium และ Decoder

    10)บริการชำระภาษีออนไลน์=e-Revenue


วันอาทิตย์ที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2557

แบบฝึกหัดบทที่ 3

เเบบฝึกหัดบทที่ 3

เรื่อง การรู้สาระสนเทศ


1. ข้อใดเป็นความหมายที่ถูกต้องที่สุดของการรู้สาระสนเทศ
ตอบ ง. ความสามารถของบุคคลในการเข้าถึง ประเมิน และใช้งานสารสนเทศ


2. จากกระบวนการของการรู้สารสนเทศ ทั้ง 5 ประการ ประการไหนสำคัญที่สุด
ตอบ ค. ความสามารถในการประมวลผลสาระสนเทศ


3. ข้อใดไม่ใช่ลักษณะของผู้รู้สารสนเทศ
ตอบ ค. ชอบใช้คอมพิวเตอร์ในการเล่นเกมส์


4. ข้อใดไม่ใช่ความสำคัญของการรู้สารสนเทศ
ตอบ ค. สารสนเทศมีการเพิ่มปริมาณอย่างรวดเร็ว จนยากที่จะเข้าถึง


5. ข้อใดเป็นการเรียงลำดับขึ้นตอนของการะบวนการเรียนรู้สารสนเทศที่ถูกต้อง 

   1.ความสามารถในการค้นหาสารสนเทศ
   2.ความสามารถในการใช้และการสื่อสารสนเทศอย่างมีประสิทธิภาพ
   3. ควาสามารถในการตระหนักว่าเมื่อใดจึงจะต้องการสารสนเทศ
   4 .ความสามารถในการประมวลสารสนเทศ
   5. ความสามารถในการประเมินสารสนเทศ
ตอบ 4,3,5,1,2

วันเสาร์ที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2557

แบบฝึกหัดบทที่ 2

เเบบฝึกหัดบทที่ 2

เรื่อง บทบาทสารสนเทศต่อสังคม

   1. ให้นิสิตหารายชื่อเว็บไซต์หรือเทคโนโลยีที่ให้บริการต่างๆ ตามหัวข้อเหล้านี้มาอย่างละ 3 รายการ1.1 การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในสาขาการศึกษาตอบ 1. www.dealfish.co.th      2. www.psnlu.com      3. www.eduxone.com

1.2 การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในวิชาชีพธุรกิจ พาณิชย์ และสำนักงานตอบ 1. การใช้ Ecomerce ในทางธุรกิจ เป็นการซื้อขายสินค้าผ่านอินเตอร์เน็ต            www.ebay.co.th,www.dealfksh.co.th
      2.การใช้โปรเเกรมสำเร็จรูปในงานสำนักงาน เช่น Office Automation เพื่อความสะดวกรวดเร็วในการทำงานในสำนักงาน

      3.โปรเเกรมสำเร็จรูปที่ใช้ในงานบัญชี เช่น Amanda Accounting ,Autofight เป็นต้น

1.3 การประยุกต์ใช้สารสนเทศในวิชาชีพการสือสารมวลชนตอบ 1.เว็บไซต์อ่านหนังสือพิมพ์ออนไลน์ เช่น www.palungjit.com      2.เว็บ ไซต์เพื่อความบันเทิง เช่น www.teenee.com,www.sanook.com เป็นต้น      3.เว็บไซต์เพื่ออ่านข่าว เช่น www.komchadluek.net

1.4. การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสาระสนเทศในวิชาชีพทางอุตสาหกรรมตอบ 1. เทคโนโลยีที่ใช้ในโรงงานอุตสาหกรรม เพื่อทำให้การเก็บรักษาผลิตภัฑณ์ให้มีอายุยาวนานขึ้น เช่น การใช้เทคโนโลยีการเเปรรูปด้วยความร้อนสูง โดยใช้UHT,Canning,Cooking,Roasting,Baking,Frying,Drying,Pasteurization เป็นต้น      2.เทคโนโลยีการผลิตที่สะอาด (Cleaner Technology : CT)      3.เทคโนโลยีชีวภาพในอุตสาหกรรมอาหารสัตว์(Bio-Techonolgy in Feed)

1.5 การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในวิชาชีพทางการเเพทย์ตอบ 1. www.fda.moph.go.th      2.www.moph.go.th      3.http://www.thaiheartweb.com

1.6 การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในวิชาชีพทหารตำรวจตอบ 1.www.khonkaen.police.go.th      2.การใช้เทคโนโลยีการจำลองการบิน Flight Simulator       3.การใช้ Source Code ของกองทัพอากาศ

1.7 กระประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในวิชาชีพวิศวกรรมตอบ 1.การใช้โปรเเกรมสำเร็จรูป Ato Cad      2.การใช้โปรเเกรมสำเร็จรูป Civilnu51      3.การใช้โปรเเกรม Converter คำนวณสูตรสำหรับวิศวกร 

1.8 การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในวิชาชีพด้านการเกษตรตอบ 1. http://oldweb.ocsb.go.th      2. http://www.thaibiotech.info/tag/      3.http://www.kmitl.ac.th

1.9 การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่เกี่ยวกับคนพิการตอบ 1. เทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวก (Assistive Technology)      2. สามารถใช้งานบนSmart Phoneมาตรฐานเป็นระบบนำทาง       3. เว็บไซต์ของผู้พิการ www.thaihealth.or.th 


2.มหาวิทยาลัยมหาสารคามเตรียมเทคโนโลยีสารสนเทศด้านการศึกษาให้กับท่าน มีอะไรบ้าง บอกมาอย่างน้อย 3อย่างตอบ 1. ระบบลงทะเบียน Reg      2. ระบบการศึกผ่าน E-learning      3.เว็บไซต์เกี่ยวกับหน่อยงานต่างๆใน มหาวิทยาลัย

3. ข้อ 2 จงวิเคราะห์ว่าท่านจะเอาเทคโนโลยีเหล่านั้น ทำให้เกิดประโยชน์ต่อตนเองอย่างไรตอบ 1. ระบบลงทะเบียน Reg ทำให้สะดวกเวลาลงทะเบียนเรียน       2.ระบบการศึกษาผ่าน E-learning ทำให้การเรียนรู้เพิ่มเติมมีความสะดวกมากยิ่งขึ้น       3. เว็บไซต์หน่วยงานต่างๆในมหาวิทยาลัย ทำให้ทราบถึงระบบการทำงานเพื่อที่จะติดต่อธุระได้ง่ายขึ้น และรวดเร็ว


วันพุธที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2557

แบบฝึกหัดบทที่ 1

เเบบฝึกหัดบทที่ 1



เรื่อง แนวคิดและแนวโน้มเกี่ยวกับข้อมูลสารสนเทศยุคใหม่


1. ข้อมูลหมายถึง ข้อเท็จจริงหรือเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับสิ่งต่างๆโดยมีรูปเเบบที่เหมาะสม ต่อการสือ่สาร การเเปลความหมายและประมวลผล ซึ่งข้่อมูลที่ได้อาจจะได้มาจากการสังเกต การรวบรวม การวัด ข้อมมูลเป็นได้ทั้งข้อมูลตัวเลขหรือข้อมูลที่เป็นสัญลักษณ์ใดๆที่สำคัญและจะ ต้องมีความเป็นจริงต่อเนื่อง


2.ข้อมูลปฐมภูมิ คือ สารสนเทศ ที่ได้มาจากต้อสารสนเทศประเภทนี้มักจะถูกถ่ายทอดออกมาในลักษณะของสิ่งพิมพ์ เช่น วรสาร รายงานการวิจัย รายงานการประชุมและสัมมนาวิชาการ สิทธิบัตร เอกสารมาตรฐานต่างๆ ต้อนฉับบตัวเขียน จดหมายเหตุ วิทยานิพนธ์ และการถ่าอยทอดทางสื่ออิเล็กทรอนิคส์ เช่น วรสารอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น


3. ข้อมุลทุติยภูมิ คือ สารสนเทศ ที่มีการรวบรวม เรียบเรียงขึ้นใหม่จากเเหล่งสารสนเทศปฐมภูมิ มักจะมีอยู่ในรูปเเบบการสรุป ย่อเรื่อง จัดหมวดหมู่ ทำดรรชนีแบะสาระสังเขปเพื่อประโยชน์ในการเข้าถึงและสามารถใช้ข้อมูลได้อย่าง สะดวกรวดเร็ว ได้เเก่ สื่ออ้างอิงประเภทต่างๆ วรสารที่มีการสรุปย่อและตีความ รวมถึงหนังสือ ตำรา ที่รวบรวมเนื้อหาวิชาการในการเรียนการสอน สารานุกรม พจนาานุกรม รายงานสถุติต่างๆ ดรรชนีและสาระสังเขป


4.สาระสนเทศหมายถึง ข้อมูล ข่าวสาร ที่ผ่านกระบวนการประมวลผล ซึ่งมีความหมายและสามารถนำไปใช้ในการตัดสินใจในชีวิตประจำวัน หรือการทำงานนั้นๆ


5. ประเภทของสาระสนเทศ ประเภทของสาระสนเทศได้มีการจำเเนกออกเป็น ตามเเหล่งสารสนเทศและตามสื่อที่จัดเก็บ ดังนี้


      (5)1. สาระสนเทศจำเเนกตามเเหล่งสารสนเทศ เป็นการจำเเนกสารสนเทศตามกระรวบรวมหรือจัดกระทำกับสารสนเทศ จำเเนกได้ดังนี้


1.1 เเหล่งปฐมภูมิ(Primary Sourec) นเเหล่ง โดยตรง เป็นสารสนเทศทางชิชาการ ผลของการศึกษาค้นคว้า วิจัย รายงาน การค้นพบทฤษฏีใหม่ๆ เพื่อนใช้เป็นแนวทางในการศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติม ซึ่งนำไปสู่การยอมรับเป็นทฤษฏีใหม่ที่เชื่อถือได้ 


1.2 มูลทุติยภูมิ (Secondary Source) สารสนเทศที่มีการรวบรวม เรียบเรียงขึ้นใหม่จากเเหล่งสารสนเทศปฐมภูมิ มักจะมีอยู่ในรูปเเบบการสรุป ย่อเรื่อง จัดหมวดหมู่ ทำดรรชนีแบะสาระสังเขปเพื่อประโยชน์ในการเข้าถึงและสามารถใช้ข้อมูลได้อย่าง สะดวกรวดเร็ว


1.3 เเหล่งตติยภูมิ(Tertiary Source)คือ สารสนเทศที่จัดทำขึ้นเพื่อใข้ในการค้นหาสารสนเทศจากเเหล่งปฐภูมิและทุติย ภูมิ จะไม่ได้ให้เนื้อหาสาระโดยตรง แต่จะมีประโยชน์ในการค้นหาสาระสนเทศที่ใช้ความรู้เฉพราะสาขาวิชา ได้เเก่ บรรณานุกรม นามานุกรม ด้วยความก้าวหน้าทางเทคโนดลยีคอมพิวเตอร์จึงได้มีการจัดเก็บบันทึกข้อมมูล ไว้ในสื่อคอมพิวเตอร์ มักจะออกนำเผยเเพร่ในรูปของ CD-ROM ฐานข้อมูลออฟไลน์


      (5)2. สารสนเทศจำเเนกตามสื่อที่จัดเกก็บ เป็นการจำเเนกสารสนเทศตามชนิดของสื่อที่ใช้ในการบันทึกข้อมูล ข่าวสาร ความรู้ ได้เเก่ กระดาษ วัสดุย่อส่วน สื่ออิเล็กทรอนิกส์ และสื่อเเสง


2.1 กระดาษเป็นสื่อที่ใช้บันทึกข้อมูล สารสนเทศ ที่ใช้ง่ายต่อการบันทึก รวมทั้งการเขียน และการพิมพ์ซึ่งเป็นที่นิยมใชักันจนถึงปัจจุบัน


2.2 วัสดุย่อส่วน เป็นสื่อที่ถูกสำเนาย่อส่วนลงบนเเผ่นฟิล์มชนิดต่างๆ ทั้งๆที่เป็นม้วนและเป็นเเผ่น มีการจัดเรียงลำดับเนี้อหาตามต้น เช่น เอกสารจดหมายเหตุ หนังสือพิมพ์ เอกสารสำคัญ วิทยานิพนธ์ เป็นต้น


2.3 สื่ออิเล็กทรอนิกส์หรือสื่อที่เป็นเเม่เหล็ก เป็นวัสดุสังเคราะห์เคลือบด้วยสารเเม่เหล็ก สามารถบันทึกและเเก้ไขข้อมูลได้สะดวกทั้งข้อมูลที่เป็นเเอนาล็ก และดิจกติล เช่น เทปวิดิทัศน์ เทปบันทึกเสียง ฮาร์ดดิสก์ เป็นต้น


2.4 สื่อเเสงหรือสื่อออฟติกส์ (Optical Media) เป็นสื่อที่ใช้ในการบันทึกข้อมูลและอ่านข้อมูลด้วยเเสงเลดซอร์ เช่น ซีดี-รอม ดีวิดี เป็นต้น ซึ่งมีความจุมากเป็นพิเศษ


6.ข้อเท็จจริงของสิ่งต่างๆที่อาจะป็นตัวเลขข้อความรูปภาพเสียงคือ ตอบ ข้อมูล


7.ข้อมูลที่ผ่านกระบวนการประมวลผลเป็น ตอบ สารสนเทศ 


8. ส่วนสูงของเพื่อนที่ถามจากเพื่อนแต่ละคนเป็น ตอบ เเหล่งปฐมภูมิ 


9.ผลของการลงทะเบียนเป็น ตอบ สารสนเทศ


10.กราฟเเสดงจำนวนนิสิตในห้องเรียนวิชาวิชาการจัดการสารสนเทศยุคใหม่ในชีวิตประจำวัน Section วันอังคาร ตอบ เป็นเเหล่งข้อมูลทุติยภูมิ


วันจันทร์ที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2557

เกร็ดความรู้

โทษของบุหรี่ การสูบบุหรี่มีผลเสียต่อสุขภาพอย่างไร

กล่าวถึงบุหรี่ เรายังจัดว่าบุหรี่นี่ยังเป็นยาสูบที่เป็นสิ่งที่ถูกกฎหมายอยู่ แต่ก็ยังไม่อาจจะรับรองในเรื่องของความปลอดภัยในชีวิตหากว่ายังมีใครหลายๆคนที่สูบบุหรี่หนักๆในแต่ละวัน มีบางคนที่สูบหนักมากจนกระทั่งกลายเป็นโรคประจำตัวไปเลย มีคนดังระดับโลกหลายต่อหลายคนที่ประสบปัญหาในเรื่องของการสูบบุหรี่ที่ติดเป็นนัยจนกระทั่งเกือบจะเอาชีวิตไม่รอดก็มีมาแล้ว อย่างเช่นอดีตนักฟุตบอลชื่อดังอย่าง โยฮัน ครัฟฟ์ (Johan Cruyff) ที่ซึ่งเคยทำสถิติสูบบุหรี่จัดวันละ 20 มวน จนกระทั่งถึงกับต้องเข้ารับการผ่าตัดขยายหลอดเลือดมาแล้วในช่วงปี 1991 – 1992 และนี่ก็คือโทษและภัยจากการสูบบุหรี่ครับ
โทษของบุหรี่ การสูบบุหรี่มีผลเสียต่อสุขภาพอย่างไร
บุหรี่ทำให้เป็นโรคมะเร็งปอด
ขึ้นชื่อว่ามะเร็งก็ไม่มีใครอยากจะเป็นอย่างแน่นอน เพราะว่าโอกาสรอดนี่ก็แทบจะเป็นไปได้ยากมาก สาเหตุที่ทำให้คนที่สูบบุหรี่ป่วยเป็นโรคมะเร็งปอดก็เพราะสารพิษที่เรียกว่า ทาร์ (Tar) ซึ่งเป็นคราบสีน้ำตาล ลักษณะข้นเหนียว เป็นตัวการนั่นเอง ซึ่งหากว่ายังสามารถตรวจเจอในระยะแรก ยังสามารถผ่าตัดก้อนเนื้อที่เป็นมะเร็งออกได้ และยังสามารถทำให้หายขาดได้
บุหรี่ทำให้เป็นโรคหัวใจและหลอดเลือด
เป็นโรคเดียวกับที่โยฮัน ครัฟฟ์ เป็นเมื่อครั้งในอดีตครับ เกิดจากสารนิโคตินภายในบุหรี่ ทำให้เกิดอันตรายต่อหัวใจและหลอดเลือด กระเพาะอาหาร รวมไปถึงลำไส้อีกด้วย ทำให้อัตราการเต้นของหัวใจเร็วขึ้น ความดันโลหิตสูง เกิดอาการภาวะหลอดเลือดหดตัว อีกทั้งยังเกิดโรคหัวใจขาดเลือดอีกด้วย หากไม่รีบทำการผ่าตัดก็จะมีโอกาสหายขาดยากมาก

วันศุกร์ที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2557

การสร้างบล็อค


เรามาทำความรู้จักกับ Blogspot กันก่อนดีกว่า บล๊อกสปอตนั้นเป็นของ google ที่สามารถให้คนทั่วไปได้เข้าถึงการ เขียนบล๊อกต่างๆ หรือการเขียนเว็บแบบง่ายๆนั้นเอง การที่จะเข้าใช้งาน blogspot นั้นจะต้องมี Gmail ซึ่งใช้ในการล๊อกอิน สามารถสมัครได้ง่ายๆ
blogButton
เราว่าดูวิธีทำบล๊อกสปอร์ตกันเลยดีกว่า
17-6-2556 21-23-30
1.ให้เราทำการพิมพ์ในช่อง URL ด้านบนว่า www.blogspot.com หรือการเข้าสู่เว็บ blogspot นั้นเอง ตามภาพด้านบน
17-6-2556 21-26-15
2.ก็จะได้หน้าตาเป็นแบบนี้ให้เราทำการล๊อกอินเข้าไป โดยใช้ Gmail ของเรา
17-6-2556 21-27-55
3.พอทำการล๊อกอินเสร็จก็จะได้หน้าตาเป็นแบบนี้ให้ทำการคลิกที่ บล๊อกใหม่
17-6-2556 21-30-23
4.พอมาถึงหน้านี้
- ในช่องหัวข้อ ให้เราทำการตั้งชื่อหัวข้อของบล๊อกของเรา(เรื่องที่เราจะเขียนบล๊อก หรือ Title)
- ในช่องที่อยู่ ให้เราทำการตั้งชื่อ URL ของเรา อาทิเช่น gunoob.blogspot.com , cnx-it.blogspot.com เป็นต้น (.blogspot.com จะมาการเติมให้โดยอัตโนมัติ ให้พิมพ์แค่ gunoob หรือ cnx-it)
- ในช่องแม่แบบ ให้เราทำการเลือก รูปแบบของบล๊อกหรือ Theme นั้นเอง (แนะนำให้ใช้แบบง่าย ธีมสามารถเปลี่ยนภายหลังได้)
17-6-2556 21-39-26
5.จะได้อกมาเป็นแบบนี้ให้ทำการคลิกเข้าไปเลย (ของผมได้ทำการสร้างใว้ก่อนแล้ว)
17-6-2556 21-41-25
6.จะได้หน้าต่างเป็นแบบนี้ให้ทำการคลิกที่ บมความใหม่ เพื่อทำการเขียนบทความหรือ blog
17-6-2556 21-43-50
7.พอได้หน้าตาแบบนี้ให้เราทำการเขียนบล๊อก หรือบทความที่เราต้องการได้เลย
- ในช่องโพสต์ด้านบนตัวหนังสือสีส้ม ให้เราทำการเขียนหัวข้อหรือหัวเรื่อง บทความที่เราต้องการเขียน
- การเขียนบทความ ข้อมูล หรือบล๊อกนั้นสามารถทำการเขียนได้ใช้ กระดาษ ตรงกลางหน้า
- ด้านขวามือจะมีป้ายกำกับ ให้เราทำการคลิกเพื่อพิมพ์ คำ ที่ผู้อื่นสามารถค้นบทความของเราเจอได้
- การใส่ลิ้งให้ทำการคลิกที่ ลิ้ง ในแทบเครื่องมือ เพื่อทำการใส่ URL ที่เราต้องการลิ้ง
- การใส่รูปภาพ สามารถทำได้โดยการคลิกที่ แทกรูปภาพ ด้านขวา ลิ้ง ในแทบเครื่องมือ แล้วทำการเลือกไฟล์เพื่ออัพโหลดรูปภาพแล้ว คลิกรูปภาพที่ต้องการเลือก แล้วกดเพิ่มรายการที่เลือก
- ถ้าทำการเขียนบทความเสร็จ ให้ทำการคลิกที่ เผยแพร่ เพื่อทำการเผยแพร่บทความที่สามารถให้ผู้อื่นได้อ่าน หรือเข้าชมได้
17-6-2556 21-54-45
8.การเปลี่ยนธีม ตามที่เราต้องการ ให้ทำการคลิกที่ แม่แบบ จะมีให้เราเลือกธีมตามที่เราต้องการ ถ้าจะเอาอันไหนให้ทำการคลิก แล้วกด ใช้กับบล๊อก(ปุ่มสีส้ม)เท่านี้ก็เป็นอันเสร็จ (ธีมเราสามารถออกแบบเองและทำเองตามที่เราต้องการได้)
ที่มา : http://gunoob.com/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%AA%E0%B8%A3%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%9A%E0%B8%A5%E0%B9%8A%E0%B8%AD%E0%B8%81-blogspot-blog/  😊😊